DHA

Last updated: 27 ก.ย. 2554  |  7134 จำนวนผู้เข้าชม  | 

DHA

เป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วย DHA  DHAคือ กรดไขมัน โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมองและประสาทตา เพราะในสมองและเซลล์ประสาทตาของคนเราประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากที่สุด คือ DHA โดยพบในกรดไขมันสมอง 40% และพบในประสาทตา 60%
             DHA เป็นกรดไขมันที่พบมากในปลาทะเลน้ำลึก และในน้ำนมแม่ ตามธรรมชาติทารกที่รับประทานนมแม่ได้อย่างน้อย 6 เดือน ก็จะได้รับสารนี้เช่นกันค่ะ ซึ่งในความจริงแล้ว สาร DHA ที่ได้รับจากนมแม่นั้น ธรรมชาติจะมีการปรับปริมาณให้เหมาะสม ตามวันเวลาเพื่อเขาไปปรับสมดุลในร่างกายของลูกน้อย ช่วยให้ระบบการทำงานต่างๆ ได้ทำงานอย่างสมบูรณ์เต็มที่ และในขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 อย่างพอเพียง สารนี้ก็จะสามารถส่งผ่านจากแม่สู่ลูก

โครงสร้างสมอง      

การวิจัย DHA จากคณะแพทย์ในประเทศไทย และต่างประเทศ

ผศ.พญ. กุสุมา ชูศิลป์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                 อธิบายความหมายของ DHA(Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดสายโซ่ยาว (Long-chain Polyunsaturated Fatty acid) โดย DHA เป็นกรดไขมันสายพันธุ์โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอตา ช่วยในการเพิ่มพัฒนาการของสมองและสายตาของทารก และเด็ก

ทั้งนี้สมองของทารก และเด็กจะประกอบไปด้วยไขมัน ร้อยละ 20 และ ร้อยละ 60 ของกรดไขมันเป็น DHA โดย DHA กระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ประสาทของสมองและจอตา

ในระยะเริ่มต้น 4-6 เดือนแรก น้ำย่อยไขมันของทารกยังไม่เพียงพอในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 จึงไม่สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็น DHA ได้เพียงพอ ดังนั้นทารกจึงต้องได้รับ DHA จากน้ำนมแม่ ขณะเดียวกันทารกต้องรับสารนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ฉะนั้นในช่วงที่ตั้งครรภ์ แม่จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งโดยปกติแหล่งโอเมก้า 3 ตามธรรมชาติ จะได้จากการรับประทานปลาในปริมาณที่มากเพียงพอ

ผศ.พญ.กุสุมา กล่าวอธิบายเพิ่มเติมว่า สารอาหาร DHA ที่ได้จากน้ำนมแม่นั้น ธรรมชาติจะมีการปรับปริมาณให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวันเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้เข้าไปปรับสมดุลย์ระบบภายในร่างกายของลูกได้อย่างทันท่วงที ทำให้เซลล์สมองและระบบการทำงานต่างๆ ของลูกมีการพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ และที่สำคัญน้ำนมแม่มี DHA แต่แม่ต้องได้รับ DHA เสริมในปริมาณที่เหมาะสมต่อวันด้วย

คำกล่าวที่ว่า “กินปลาเถิดพี่ จะดีที่สมอง กินปลาเถิดน้อง สมองจะดี” ซึ่งเป็นคำพูดประจำโดยคุณครูโรงเรียนอนุบาล เพื่อเชิญชวนเด็กเล็กๆ ให้นิยมรับประทานปลานั้น จริงหรือไม่ ซึ่งได้มีการนำประเด็นดังคำกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยกันมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้มีผลการวิจัยที่แสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะด้านความจำ และการเรียนรู้

จึงเป็นที่สรุปว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy), แม่ที่ให้นมบุตร (Lactation) และเด็กควรได้รับ DHA เสริมอย่างที่จะเลี่ยงไม่ได้ ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้

                แม่ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy), แม่ที่ให้นมบุตร (Lactation) ตามคำแนะนำของ ISSFAL (International Society for the Study of Fatty acids and Lipids) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แม่ที่ตั้งครรภ์หรือแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรได้รับ DHA เสริมวันละ 300 mg นอกจากนี้การได้รับ DHA อย่างเพียงพอเป็นประจำในเด็ก นอกจาก DHA จะส่งเสริมการพัฒนาสมองแล้วการได้รับ DHA เสริมอย่างสม่ำเสมอ ยังส่งผลให้เด็กมีภูมิต้านทานมากขึ้น ทำให้ลดการเกิดการเจ็บป่วย มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งลดปัญหาการขาดเรียนโรงเรียนได้อย่างเห็นผล

                ผศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร                              กล่าวถึงผลงานวิจัย “ประโยชน์ของการรับประทาน DHA เสริมว่า DHA พบมากในปลาทะเล และจากผลงานวิจัยในต่างประเทศจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ DHA ในการเพิ่มพัฒนาการทางสมอง โดยการเสริม DHA ลงในนม และให้เด็กดื่มตลอดภาคการศึกษา พบว่า DHA ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กลดระยะเวลาในการป่วย และขาดเรียนอย่างเห็นได้ชัด”

                ทั้งนี้ จากงานวิจัยดังกล่าว ผลการวิจัยแสดงว่า เมื่อมีการเสริม DHA ในเด็กชั้นประถมศึกษาในปริมาณ 100 mg ทุกวันตลอดภาคการศึกษา เด็กจะมีระยะเวลาในการป่วย และขาดเรียนลดลง 10% และในกลุ่มที่ได้รับ DHA เพิ่มขึ้นในประมาณ 1,000 mg จะมีระยะเวลาการขาดเรียนลดลง 30% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA เสริม

                ในการประชุมโภชนาการเด็กแห่งเอเซีย ณ กรุงปักกิ่ง ได้มีการเปิดเผยผลงานวิจัย ซึ่งสนับสนุนผลงานวิจัยที่ผ่านมาว่า “เด็กต้องได้รับการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ถึงวัยทารก และปฐมวัย โดย DHA ซึ่งเป็นไขมันที่เป็นโครงสร้างที่สำคัญในสมอง และประสาทจอตา ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก”

                ดร.เพิร์ทโฮลด์ โคเลตซีโก จากโรงพยาบาลเด็ก และ ดร.วอน ฮาวเนอร์ จากมหาวิทยาลัยมิวนิค

            ได้นำเสนอผลการวิจัยใหม่ในหัวข้อโภชนาการไขมัน ในปริมาณที่เพียงพอ ในช่วงอายุ 5 เดือนก่อนคลอด ถึง 1 เดือนหลังคลอด ผลการวิจัยแสดงว่า สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร ควรบริโภคกรดไขมัน DHA ในปริมาณอย่างน้อย 200 mg อีกทั้งคณะผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สตรีที่บริโภคกรดไขมัน DHA ในปริมาณที่มากกว่าจะมีสุขภาพครรภ์ที่ดีกว่าสตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับการบริโภคกรดไขมัน DHA เสริม อีกทั้งมีผลในการช่วยเพิ่มน้ำหนักเด็กที่คลอด และลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาการของเด็กในหลายด้าน เช่น การพัฒนาการของสมองและสายตา เป็นต้น

                 ดร.อเล็กซานเดอร์ ลาพิลลอนเน มหาวิทยาลัยปารีส เอส์การัตส์

          ได้นำเสนอผลงานวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นของทารกกับการบริโภคกรดไขมัน DHA พบว่า DHA มีความสัมพันธ์ทำให้พัฒนาการมองเห็น และสมองดีขึ้นอย่างชัดเจน

                ดร.อลันไรอัน จากมาร์เก็ต ไบโอไซน์ส (Market Bioscience)

                                ได้นำเสนอผลของการบริโภค DHA ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ผลการวิจัย พบว่า หากมีระดับปริมาณ DHAในเลือดในปริมาณมากจะส่งผลให้เด็กสามารถทำแบบทดสอบด้านความรับรู้ได้ดีเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณ DHA ในเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในเด็กจำเป็นที่ต้องได้รับการบริโภค DHA เสริม        

                ISSFAL สำนักงาน USA และ University of Maryland USA

           กล่าวว่า เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น (IDD: Intensive Deficit Disorder) และเด็กสมาธิสั้นและมีอาการซุกซนผิดปกติ (IDHD: Intensive Deficit Hyperactivity Disorder) เหล่านี้ มีสาเหตุหลักอย่างหนึ่งมาจากการที่สมองขาด DHA ซึ่งแนวทางในการรักษาคือ การให้ DHA เสริมในปริมาณที่สูง (High dose) หมายความว่า ควรได้รับ DHA เสริมในปริมาณวันละ 300-600 mg ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เด็กในกลุ่มอาการเหล่านี้มีอาการลดลงอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน และมีสมาธิมากขึ้น

           อีกทั้งผลงานวิจัยที่แสดงถึงการรับประทาน DHA เสริม แล้วเด็กจะมีพัฒนาการทางสมอง หรือ IQ ที่สูงขึ้น เช่น ผลงานวิจัยที่จัดทำโดย University of Maryland USA ผลการทดลองสรุปได้ว่า DHA (Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ซึ่งแหล่งที่มาจะได้จากทางอาหารที่รับประทานได้อย่างเดียว โดยแหล่งที่พบมากจะพบในปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งเป็นแหล่งที่สามารถสกัด DHA หรือที่เรียกว่า Omega 3 (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรูปข้างล่าง) ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในการสร้างเนื้อเยื่อสมอง และจอตา ดังนั้นสตรีมีครรภ์ควรได้รับ DHA เสริมในปริมาณที่เพียงพออย่างสม่ำเสมอ หากมีปริมาณ DHA อยู่ในน้ำนมที่ได้รับจากการรับประทานปลาหรือจากธรรมชาติไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีส่วนในการส่งผลไปถึงเด็กในครรภ์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้