Policozanol Plus U

คุณสมบัติสินค้า:

ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีไขมันในกระแสเลือดสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน

Share



สารหลักประกอบด้วย

๑. Gamma Oryzanol 32 Mg
๒. FISH OIL 550 Mg
Provide Eicosapentaenoic acid (EPA) 291.5 Mg
Docosahexaenoic acid (DHA) 55 Mg
๓. สารสกัด Policosanol 5 Mg
๔. Melissa extract 20 Mg

แกมม่าโอไรซานอล (Gamma-Oryzanol)
มีฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ และยังป้องกันแสงยูวีได้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก
แกมม่าโอไรซานอลเป็นส่วนผสมของกรดเฟอรูลิค, เอสเตอร์ของสเตอรอลและแอลกอฮอล์ สกัดได้จากน้ำมันจมูกข้าว ซึ่งมีผลต่อร่างกายหลักๆ ดังนี้ คือ

1. ระดับไขมันในเลือดสูง
จากการศึกษาในคนการใช้แกมมาโอไรซานอลในการช่วยลดระดับไขมันในเลือดพบว่ากลุ่มคนไข้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงเมื่อได้รับแกมม่าโอไรซานอล ทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลรวม และระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและยังเพิ่มระดับคลอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)โคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง และเป็นนส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ในร่างกาย และเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนต่างๆนอกจากนี้ยังพบได้ในกระแสเลือด ถ้ามีแต่พอเพียงก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้ามีโคเลสเตอรอลมากผิดปกติก็จะมีโทษตามมา โดยโคเลสเตอรอลนี้จะไปพอกตามหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลาย ทั้งนี้ในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆให้เห็นเลยถ้าไม่มีการตรวจวัดโดยการเจาะเลือดหรือตรวจสอบ แต่จะแสดงอาการให้เห็นชัดเจนเมื่อโคเลสเตอรอลพอกมากขึ้นจนอุดตันทางเดินของหลอดเลือด ก่อให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย โรคหลอดเลือด สมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งถึงจุดนั้นก็ยากที่จะเยียวยาให้หายเป็นปกติ นอกจากนี้ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น เพศชาย อายุมากขึ้น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หรือสูบบุหรี่ ก็จะเร่งให้เกิดโรคของหลอดเลือดเร็วกว่าปกติ

โคเลสเตอรอลมี 2 ชนิดคือ
1. โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ซึ่งเป็นตัวการที่จะไปจับตัวพอกพูนอยู่ตามหลอดเลือด และเป็นต้นเหตุของอาการหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ
2. โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เป็นเสมือนเรือขุด ที่จะไปเอาไขมันที่พอกตัวอุดตันหลอดเลือดอยู่กลับไปทำลายเผาผลาญที่ตับ โคเลสเตอรอลชนิดนี้ยิ่งมีมากยิ่งดี และจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

*****ไขมันอีกชนิดที่มีผลร้ายต่อสุขภาพคือไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับโคเลสเตอรอล HDL ต่ำ
อาจมีคนสงสัยว่าไขมันสูงเท่าไรจึงจะเกิดอันตราย ในภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงควรตรวจระดับไขมันในเลือดเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
อันตรายของโคเลสเตอรอล คือ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตันโดยโคเลสเตอรอลชนิดร้าย กระแสเลือดแดงจะพอกตัวที่ผนงหลอดเลือดก่อให้เกิดคราบไขมันและหินปูนทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน

กระบวนสะสมตัวของคราบไขมันและการที่คราบหินปูนแตกออกหลุดเข้าไปในกระแสเลือดอย่างเฉียบพลันส่งผลร้ายแรงให้เกิดอาการหัวใจวายถึงขั้นเสียชีวิตได้กระบวนการก่อตัวของคราบหินปูนในหลอดเลือด
1. โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ในกระแสเลือดพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดแดง
2. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งเม็ดเลือดขาวชนิดมาโครฟาร์จมากินโคเลสเตอรอล มาโครฟาร์จที่อ้วนพอง กลายเป็นเซลล์โฟม
3. เซลล์โฟมสะสมตัวเป็นส่วนประกอบหลักของคราบหินปูน
4. เพื่อรักษาความเรียบมันของผนังหลอดเลือดแดง เซลล์กล้ามเนื้อเรียบจะสร้างปลอกหุ้มคราบหินปูนไว้
5. เซลล์โฟมในคราบหินปูนจะหลั่งสารเคมีที่ทำให้ปลอกหุ้มอ่อนแอ
6. ถ้าปลอกหุ้มแตก คราบหินปูนจะแทรกเข้าสู่กระแสเลือดก่อให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดที่สามารถขัดขวางการไหลเวียนของเลือดได้ อาการหัวใจวาย ส่วนใหญ่เกิดในเส้นเลือดแดงที่ถูกปิดกั้นไปกว่าร้อยละ50 และบริเวณ ที่มีคราบหินปูนสะสมใหม่จะมีโอกาสที่จะเกิดรอยแตกได้มากกว่า

2. กลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน
การรายงานว่าเมื่อกลางปีค.ศ 1950 มีการแยก การสกัด การทำให้บริสุทธิ์ของแกมม่าโอไรซานอล ในประเทศญี่ปุ่นคนญี่ปุ่นใช้สารตัวนี้ในการักษาทางยาตั้งแต่ปีค.ศ1962 สารตัวนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการวิตกกังวล ในปีค.ศ1970 ค้นพบว่า สารตัวนี้รักษากลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน และปลายปี ค.ศ1980 ได้รับการยอมรับในการใช้รักษาระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
แกมมาโอไรซานอลถูกพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ และกลุ่มอาการชราภาพ มีรายงานฉบับหนึ่งพบว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้มีอาการของวัยหมดประจำเดือนลดลงถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งจะแกมมาโอไรซานอลจะมีกลไกในการออกฤทธิ์ คือ ลดการหลั่งฮอร์โมนลูติไนซึ่ง จากต่อมพิทูอิทาลี และเพิ่มการปลดปล่อยฮอร์โมนเอนโดฟินจากสมองส่วนไฮโปธาลามัสแต่ผลทั้งหมดนี้ไม่สำคัญมากเท่ากับผลที่ได้รับในการทดลองทางคลีนิคที่เราต้องการ

3. การเกิดกรดในลำไส้
แกมม่าโอไรซานอลถูกนำมาใช้ในการรักษาปัญหาโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทควบคุมการหลั่งกรดให้ผิดไปจากเดิมที่เคยหลั่งกรดออกมามากก็ทำให้มีการหลั่งน้อยลงในระบบย่อยอาหารปกติ

4. การเสริมสร้างร่างกาย
แกมม่าโอไรซานอลถูกใช้ในการช่วยเสริมสร้างร่างกายแต่จะถูกควบคุมให้ดีขึ้นเล็กน้อยในการศึกษาในคนแต่ก็ยังคงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีคุณประโยชน์ในเรื่องนี้

5. การใช้ในด้านอื่นๆ
แกมม่าโอไรซานอลมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) มีการรายงานในเรื่องเหล่านี้ประปราย ส่วนการศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในสัตว์ทดลองมีผลเพิ่มการหลั่งนอร์อีพิเนฟรีน (norepinephrine) การศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในคนมีผลยับยั้งการหลั่งระบบฮอร์โมนTSHในคนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism) มีผลโดยตรงต่อสมองส่วนไฮโปธาลามัส โดยรวมแล้วความสำคัญของผลการศึกษาเหล่านี้มีมากเลยในการทำการทดสอบในทางคลินิก
การศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในผู้ฝึกออกกำลังกาย พบว่า ขนาดการกินที่เหมาะสมคือ 500 มิลลิกรัมต่อวัน การใช้แกมม่าโอไรซานอลยังไม่มีข้อห้ามใช้อย่างเด่นชัด ส่วนการใช้ในหญิงตั้งครรภ์มีความปลอดภัยการใช้ในระยะให้นมบุตรอาจทำให้น้ำนมหยุดไหลได้ แกมมาโอไรซานอลไม่ทำให้เกิดกลายพันธุ์ ไม่ทำให้เกิดการยับยั้งสายโครโมโซม ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง

Eicosapentaenoic acid

EPA ย่อมาจากคำว่า Eicosapentaenoic acid เป็นกรดไขมันเชิงซ้อนไม่อิ่มตัว จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 มีจำนวนคาร์บอนโมเลกุลจัดเรียงต่อกัน 20 ตัว กรดไขมัน EPA จะไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น DHA ในร่างกายของคนได้
EPA เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำงานอย่างไร

กรดไขมัน EPA ทำงานร่วมกับโพสตาแกรนดินในลักษณะตรงข้ามกับกรดไขมัน โอเมก้า 6 คือ กรดไขมัน EPA จะสังเคราะห์สารที่ช่วยลดอาการอักเสบคือ PGE3 โดยผู้ที่รับประทานโอเมก้า 3 เป็นประจำจะสามารถลดอาการอักเสบของไขข้อ อักเสบของผิว(โรคสะเก็ดเงิน) ลดอาการอักเสบในลำคอ นอกจากนี้ยังลดอาการอักเสบของเนื้อร้าย(เซลล์มะเร็ง) หนังสือหลายเล่มแนะนำให้รับประทานโอเมก้า 3 เพื่อหยุดเซลล์มะเร็ง
ในงานวิจัยจึงพบว่าปัจจุบันประชากรทั่วโลกเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้อเสื่อมมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีตหลายเท่าตัว เนื่องจากบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

กรดไขมัน EPA ยังช่วยลดการเกาะตัวเป็นก้อนของเม็ดเลือดหรือที่เรียกว่าลิ่มเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการตีบตันของหลอดเลือด ซึ่งเป็นที่มาของโรคหัวใจวาย โรคเหลือดเลือดสมองแตกเป็นอัมพฤต อัมพาต เป็นต้น
กรดไขมัน EPA จึงนับได้ว่าเป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น

Policosanol
เป็นส่วนผสมของแอลกอฮอล์หลักสายโซ่ยาวที่แยกได้จากขี้ผึ้งอ้อยส่วนประกอบหลักคือoctacosanol (ประมาณ 65%), triacosanol (ประมาณ 12%) และhexacosanol (7%)
จากการทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มากกว่า 60 การวิจัย จนกระทั่งมีการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ American Heart Journal ปี 2002 ถึงคุณประโยชน์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแม้ใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดไขมันในเลือด ส่งผลให้สารสกัดจากธรรมชาติ “โพลีโคซานอล (Policosanol)” เป็นรู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้

การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol)
ศึกษากับผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง มากกว่า 3,000 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดต่างๆได้ดี ดังนี้

1. ลดไขมันโคเลสเตอรอลอย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยลดระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดรวม (TC)และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง

2. ช่วยสร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด
ช่วยบำรุงตับให้สร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น ซึ่งโดยปกติไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ซึ่งการเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL-Cholesterol) ในกระแสเลือด เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ถึง 3-4%

3. ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือดได้ถึง 50%
ช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

4. ป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด
เนื่องจากคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) จึงช่วยลดขบวนการเกิดการจับตัวเป็นก้อนของไขมันโคเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสื่อมและขาดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด จนเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เช่น บริเวณขา เป็นต้น

5. ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและตับ
ช่วยลดการสะสมเกาะตัวของไขมันที่ตับ หัวใจ และเนื้อเยื่อไขมัน จนทำให้เกิดความผิดปกติและฟื้นฟูสมรรถภาพของตับที่เสื่อมโทรม อันเกิดจากการรับประทานยาลดไขมันในเลือดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงทั้งคู่ ควรเสริมด้วยน้ำมันปลา (โอเมก้า-3) ควบคู่กับสารสกัดโพลีโคซานอลจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดระดับของไขมันทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ส่งผลในการลดความเสี่ยงของการโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ มัจุราชเงียบคนยุคโลกาภิวัฒน์

เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกและคนไทยเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดพบว่าในแต่ละปีคนไทยประมาณ 60,000-100,000 คน เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และคนไทยอีกกว่า 39 ล้านคน กำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในขณะนี้ ทำให้เสียค่ารักษาพยาบาล สูญเสียความสามารถในการทำงาน และร่างกายอาจเกิดความเสื่อมโทรมไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้เหมือนเดิม

(ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)

สาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ.....การมีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ จนเกิดการสะสมและอุดตันที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งแท้จริงแล้ว “ตับ” เป็นอวัยวะหลักในการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลถึง 80% ที่เหลืออีก 20% เกิดจากการรับประทานอาหาร แต่วัยที่เพิ่มมากขึ้นและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่มีการควบคุมที่ดีพอ จึงส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของระดับไขมันโคเลสเตอรอลในร่างกาย ปัจจุบันพบว่าผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะพบระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงมากกว่า 200มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งการตรวจวัดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำทุกปี จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีที่สุด
(ข้อมูลจากThe National Center for Health Statistics and the American Heart Association)
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้