น้ำมันจมูกข้าว

Last updated: 11 ก.ค. 2555  |  13606 จำนวนผู้เข้าชม  | 

น้ำมันจมูกข้าว

        - แกมม่า โอริซานอล คือ สารสำคัญในน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว ที่มีผลต่อการปรับสมดุลของระบบเลือด (Blood Circulation) ทำให้เกิดผลดีในแง่ของการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและระบบควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยบริเวณรอบๆ เมล็ดข้าว ซึ่งเรียกว่า รำข้าว (Bran) จะพบสาร Gamma Oryzanol ในปริมาณน้อย แต่สารสำคัญ Gamma Oryzanol จะมีปริมาณเข้มข้น ซึ่งจะพบที่บริเวณจมูกข้าวเท่านั้น (Germ) 
          ดังนั้น การสกัดน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวรวมกันจะให้ Gamma Oryzanol ในปริมาณน้อยมาก คือจะให้ Gamma Oryzanol แค่ 7.5 mg. หรือไม่เกิน 8 mg. ต่อแคปซูล (500 mg.) เท่านั้น

          โดยปริมาณ Gamma Oryzanol ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ต้องไม่ต่ำกว่า 75 mg. ต่อวัน แต่หากเราต้องการบริโภค Gamma Oryzanol ให้มีผลต่อการรักษา เราควรบริโภค Gamma Oryzanol ถึง 75-300 mg. ต่อวัน (ตามข้อมูลผลงานวิจัยทางวิชาการ)

           สรุปได้ว่าหากเราจะบริโภค Gamma Oryzanol ในผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว (Rice Barn and Germ Oil) ที่มี Gamma Oryzanol 7.5 mg. หรือ 8 mg. ต่อเม็ด เท่ากับว่าเราบริโภคเพื่อการบำรุงร่างกายเท่านั้น แต่หากเราต้องการบริโภคเพื่อการรักษา จำเป็นต้องบริโภคถึง วันละ 10 – 40 แคปซูลต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้

           นวัตกรรมใหม่ ล่าสุดในกลุ่มของน้ำมันจมูกข้าว (Garm Oil) Ricezanol 48 U Plusซึ่งจะสกัดสารสำคัญ (Gamma Oryzanol) ที่พบเฉพาะในน้ำมันจมูกข้าวอย่างเดียว (Rice Germ Oil) จาก Tsunu ประเทศญี่ปุ่น ที่ให้สาร Gamma Oryzanol ในปริมาณที่สูงถึง 48 mg. ต่อแคปซูล มากกว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวจมูกข้าวทั่วไปถึง 6 เท่า

            ผลิตภัณฑ์ Ricezanol 48U Plus บรรจุในแคปซูลแข็งที่เรียกว่า Licaps ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด จากประเทศฝรั่งเศส (Capsulegel) ซึ่งมีลิขสิทธิ์ในประเทศอเมริกาและประเทศไทยเท่านั้น

   
Licaps Licaps Soft Gelatin Capsule Soft Gelatin Capsule Heart

นวัตกรรมที่แตกต่างของ Licaps Ricezanol 48 U Plus และ Soft Gelatin Capsule ของน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวกล่าวคือ แคปซูลนิ่มเป็น Gelatin ที่มีความยืดหยุ่น สังเกตได้ว่าเมื่อโดนความร้อนจะนิ่มและเมื่อโดนความเย็นจะแข็ง เนื่องจากเปลือก Capsule จะใส่สารที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น หากส่องกล้องจุลทรรศน์ดูจะพบว่าเปลือกแคปซูลนิ่มจะเต็มไปด้วยรูพรุนที่ทำให้ Oxygen ในอากาศซึมผ่านได้ตลอดเวลา หากทิ้งไว้ระยะยาวเวลาหนึ่งเมื่อ Oxygen ซึมผ่านเข้าไปสัมผัสกับน้ำมันรำข้าวจมูกข้าวจะทำให้เกิดปฏิกริยา Oxidation ทำให้น้ำมันข้างในจะหืน เปลี่ยนสี ไม่มีความคงทน จนถึงตกตะกอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำมันรำข้าว จมูกข้าว เหล่านั้นเสียสภาพ เสียคุณประโยชน์ไปแล้วอย่างสิ้นเชิง และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากเรารับประทานต่อเนื่อง

 

·     แกมม่าโอไรซานอล (Gamma-Oryzanol)  

มีฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ และยังป้องกันแสงยูวีได้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก

แกมม่าโอไรซานอลเป็นส่วนผสมของกรดเฟอรูลิค, เอสเตอร์ของสเตอรอลและแอลกอฮอล์ สกัดได้จากน้ำมันจมูกข้าว ซึ่งมีผลต่อร่างกายหลักๆ ดังนี้ คือ

1. ระดับไขมันในเลือดสูง

จากการศึกษาในคนการใช้แกมมาโอไรซานอลในการช่วยลดระดับไขมันในเลือดพบว่ากลุ่มคนไข้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงเมื่อได้รับแกมม่าโอไรซานอล ทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลรวม และระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและยังเพิ่มระดับคลอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)

เมื่อทราบสารสำคัญในน้ำมันจมูกข้าวแล้วเรามาทราบถึงข้อมูลของโคเลสเตอรอลบ้างโคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง และเป็นนส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ในร่างกาย และเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนต่างๆนอกจากนี้ยังพบได้ในกระแสเลือด ถ้ามีแต่พอเพียงก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้ามีโคเลสเตอรอลมากผิดปกติก็จะมีโทษตามมา โดยโคเลสเตอรอลนี้จะไปพอกตามหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลาย ทั้งนี้ในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆให้เห็นเลยถ้าไม่มีการตรวจวัดโดยการเจาะเลือดหรือตรวจสอบ แต่จะแสดงอาการให้เห็นชัดเจนเมื่อโคเลสเตอรอลพอกมากขึ้นจนอุดตันทางเดินของหลอดเลือด ก่อให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย โรคหลอดเลือด สมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งถึงจุดนั้นก็ยากที่จะเยียวยาให้หายเป็นปกติ นอกจากนี้ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น เพศชาย อายุมากขึ้น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หรือสูบบุหรี่ ก็จะเร่งให้เกิดโรคของหลอดเลือดเร็วกว่าปกติ

โคเลสเตอรอลมี 2 ชนิดคือ

1. โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ซึ่งเป็นตัวการที่จะไปจับตัวพอกพูนอยู่ตามหลอดเลือด และเป็นต้นเหตุของอาการหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ

2. โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เป็นเสมือนเรือขุด ที่จะไปเอาไขมันที่พอกตัวอุดตันหลอดเลือดอยู่กลับไปทำลายเผาผลาญที่ตับ โคเลสเตอรอลชนิดนี้ยิ่งมีมากยิ่งดี  และจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

*****ไขมันอีกชนิดที่มีผลร้ายต่อสุขภาพคือไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับโคเลสเตอรอล HDL ต่ำ

อาจมีคนสงสัยว่าไขมันสูงเท่าไรจึงจะเกิดอันตราย ในภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงควรตรวจระดับไขมันในเลือดเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ           ตารางแสดงระดับไขมันในเลือด

 

ชนิดไขมันในเลือด

ระดับเหมาะสม

เริ่มอันตราย

อันตราย(มก./ดซล.)

โคเลสเตอรอลรวม

น้อยกว่า 200

200 ขึ้นไป

240 ขึ้นไป

โคเลสเตอรอลชนิดร้าย

น้อยกว่า 130

130 ขึ้นไป

160 ขึ้นไป

โคเลสเตอรอลชนิดดี

มากกว่า 45

น้อยกว่า 45

น้อยกว่า 35

ไตรกลีเซอไรด์

น้อยกว่า 150

150 ขึ้นไป

200 ขึ้นไป

 

 

 

 

 
 

 

อันตรายของโคเลสเตอรอล คือ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตันโดยโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ในกระแสเลือดแดงจะพอกตัวที่ผนงหลอดเลือดก่อให้เกิดคราบไขมันและหินปูนทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน

กระบวนสะสมตัวของคราบไขมันและการที่คราบหินปูนแตกออกหลุดเข้าไปในกระแสเลือดอย่างเฉียบพลันส่งผลร้ายแรงให้เกิดอาการหัวใจวายถึงขั้นเสียชีวิตได้กระบวนการก่อตัวของคราบหินปูนในหลอดเลือด

1. โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ในกระแสเลือดพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดแดง

2. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งเม็ดเลือดขาวชนิดมาโครฟาร์จมากินโคเลสเตอรอล มาโครฟาร์จที่อ้วนพอง กลายเป็นเซลล์โฟม

3. เซลล์โฟมสะสมตัวเป็นส่วนประกอบหลักของคราบหินปูน

4. เพื่อรักษาความเรียบมันของผนังหลอดเลือดแดง เซลล์กล้ามเนื้อเรียบจะสร้างปลอกหุ้มคราบหินปูนไว้

   5. เซลล์โฟมในคราบหินปูนจะหลั่งสารเคมีที่ทำให้ปลอกหุ้มอ่อนแอ

  6. ถ้าปลอกหุ้มแตก คราบหินปูนจะแทรกเข้าสู่กระแสเลือดก่อให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดที่สามารถขัดขวางการ ไหลเวียนของเลือดได้ อาการหัวใจวาย ส่วนใหญ่เกิดในเส้นเลือดแดงที่ถูกปิดกั้นไปกว่าร้อยละ50 และบริเวณ  ที่มีคราบหินปูนสะสมใหม่จะมีโอกาสที่จะเกิดรอยแตกได้มากกว่า

2.    กลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน

การรายงานว่าเมื่อกลางปีค.ศ 1950 มีการแยก การสกัด การทำให้บริสุทธิ์ของแกมม่าโอไรซานอล ในประเทศญี่ปุ่นคนญี่ปุ่นใช้สารตัวนี้ในการักษาทางยาตั้งแต่ปีค.ศ1962 สารตัวนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการวิตกกังวล ในปีค.ศ1970 ค้นพบว่า สารตัวนี้รักษากลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน และปลายปี ค.ศ1980 ได้รับการยอมรับในการใช้รักษาระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

แกมมาโอไรซานอลถูกพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ และกลุ่มอาการชราภาพ มีรายงานฉบับหนึ่งพบว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้มีอาการของวัยหมดประจำเดือนลดลงถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งจะแกมมาโอไรซานอลจะมีกลไกในการออกฤทธิ์ คือ ลดการหลั่งฮอร์โมนลูติไนซึ่ง จากต่อมพิทูอิทาลี และเพิ่มการปลดปล่อยฮอร์โมนเอนโดฟินจากสมองส่วนไฮโปธาลามัสแต่ผลทั้งหมดนี้ไม่สำคัญมากเท่ากับผลที่ได้รับในการทดลองทางคลีนิคที่เราต้องการ

3.     การเกิดกรดในลำไส้

แกมม่าโอไรซานอลถูกนำมาใช้ในการรักษาปัญหาโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทควบคุมการหลั่งกรดให้ผิดไปจากเดิมที่เคยหลั่งกรดออกมามากก็ทำให้มีการหลั่งน้อยลงในระบบย่อยอาหารปกติ

4.     การเสริมสร้างร่างกาย

แกมม่าโอไรซานอลถูกใช้ในการช่วยเสริมสร้างร่างกายแต่จะถูกควบคุมให้ดีขึ้นเล็กน้อยในการศึกษาในคนแต่ก็ยังคงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีคุณประโยชน์ในเรื่องนี้

5.         การใช้ในด้านอื่นๆ

แกมม่าโอไรซานอลมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) มีการรายงานในเรื่องเหล่านี้ประปราย ส่วนการศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในสัตว์ทดลองมีผลเพิ่มการหลั่งนอร์อีพิเนฟรีน (norepinephrine) การศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในคนมีผลยับยั้งการหลั่งระบบฮอร์โมนTSHในคนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism) มีผลโดยตรงต่อสมองส่วนไฮโปธาลามัส โดยรวมแล้วความสำคัญของผลการศึกษาเหล่านี้มีมากเลยในการทำการทดสอบในทางคลินิก

การศึกษาแกมม่าโอไรซานอลในผู้ฝึกออกกำลังกาย พบว่า ขนาดการกินที่เหมาะสมคือ 500 มิลลิกรัมต่อวัน การใช้แกมม่าโอไรซานอลยังไม่มีข้อห้ามใช้อย่างเด่นชัด ส่วนการใช้ในหญิงตั้งครรภ์มีความปลอดภัยการใช้ในระยะให้นมบุตรอาจทำให้น้ำนมหยุดไหลได้ แกมมาโอไรซานอลไม่ทำให้เกิดกลายพันธุ์ ไม่ทำให้เกิดการยับยั้งสายโครโมโซม ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง

 ประโยชน์ของน้ำมันจมูกข้าว

·       ลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย

                สารธรรมชาติในน้ำมันจมูกข้าวหลายชนิด ได้แก่ แกมม่าโอไรซานอล วิตามินอี-กลุ่มโทโคไตรอีนอล ไฟโตสเตอรอลและกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3-6-9 มีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) รวมทั้งไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ในร่างกายนอกจากนั้นแกมม่า-โอไรซานอล ยังช่วยคงระดับหรือเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ในร่างกายอีกด้วย

·       ป้องกันโรคหัวใจและโรคร้ายที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน

                โคเลสเตอรอลเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน การลดโคเลสเตอรอลจึงช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต

·       ป้องกันโรคมะเร็ง

                น้ำมันจมูกข้าว นับเป็นน้ำมันที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติสูงที่สุดชนิดหนึ่ง ได้แก่ วิตามินอี-กลุ่มโทโคฟีนอลและกลุ่มโทโคไตรอีนอล แกมม่า-โอไรซานอล และไฟโตสเตอรอล ซึ่งอนุมูลอิสระ (Free radicals) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง

·       รักษาสมดุลระบบประสาท และบำรุงสมอง

                วิตามินอีคอมเพล็กซ์ในน้ำมันจมูกข้าวมีคุณสมบัติช่วยรักษาสมดุลของระบบประสาท บำรุงสมอง เสริมความจำป้องกันโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

·       ปรับสมดุลของระบบฮอร์โมนในสตรีวัยทอง

                มีงานวิจัย ยืนยันคุณค่าของแกมม่า-โอไรซานอล ที่ช่วยปรับสมดุลของระบบสตรีวัยทอง และช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) ได้

·       บำรุงผิวพรรณ

                น้ำมันจมูกข้าวมีสารที่ช่วยบำรุงผิวพรรณหลายชนิดเช่น วิตามินอีคอมเพล็กซ์ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยให้ความชุ่มชื้น ยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง ลดเลือนริ้วรอย ต้านทานรังสี UVช่วยป้องกันการเกิดกระ ฝ้า จุดด่างดำ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ที่สำคัญ สแควลีนเป็นสารไวท์เทนนิ่ง ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น
 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้